Mobile Digital Mammography

รถเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ ระบบดิจิตอลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ
มีความทันสมัยที่สุดในเอเชีย ด้วยเทคโนโลยี direct to digital ซึ่งทำจาก amorphous selenium ทำให้ภาพเอกซเรย์ มีความคมชัดและละเอียดสูงมาก ช่วยในการวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ และสามารถถ่ายเต้านมสตรี ตามสรีระที่แตกต่างกันได้ดีขึ้น ส่งให้ลดความเจ็บปวดจากการทำจากเครื่องรุ่นเดิม การเก็บข้อมูลสามารถเก็บข้อมูลในหน่วยความจำได้ทั้งฟิล์ม และในคอมพิวเตอร์เพื่อนำไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ง่ายขึ้น
วัตถุประสงค์ ของรถเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่
1.ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงการบริการได้สะดวก โดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล
2.เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรกให้กับประชาชนแบบเข้าถึงพื้นที่
หน่วยงานที่ประสงค์เข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
ให้ยื่นหนังสือแจ้งความประสงค์ที่จะตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมถึงผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ
ขอบเขตของผู้มารับบริการ
ได้แก่ ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังนี้
1.มีประวัติครอบครัวหรือญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม เช่น แม่ พี่สาว น้องสาว
2.มีประวัติการใช้ฮอร์โมนเพศทดแทนติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 5 ปี
3.คลำพบก้อน หรือสิ่งผิดปกติบริเวณเต้านม
4.อายุมากกว่า 40 ปี ขึ้นไป
อัตราค่าบริการ
ตรวจที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ตรวจที่รถแมมโมแกรม

การทำแมมโมแกรม
การทำแมมโมแกรม เป็นการถ่ายภาพเต้านมด้วยรังสี x-ray ปริมาณน้อยจะสามารถเห็นเนื้อเต้านมที่มีความผิดปกติตั้งแต่ยังไม่ได้เป็นก้อน หรือก้อนขนาดเล็กมากจนคลำไม่ได้ ซึ่งถ้าพบได้ตั้งแต่ตอนนี้จะเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดมากขึ้น ตรวจแมมโมแกรมที่ดีนั้นจะต้องมีเครื่องมือเทคนิคการตรวจ คุณภาพของฟิล์มที่ดี มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโดยตรงเพื่อลดความผิดพลาดในการตรวจค้นหามะเร็งระยะแรกให้น้อยที่สุด และระดับการได้รับรังสีจากการตรวจของแมมโมแกรมมีน้อยมาก ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้รับการตรวจ

การตรวจอัลตราซาวด์
การตรวจอัลตราซาวด์ เป็นการตรวจเต้านมโดยรังสีแพทย์และใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อวินิจฉัยแยกก้อนถุงน้ำและยังใช้ตรวจในกรณีเต้านมมีความหนาแน่นสูงในการตรวจเต้านมเพื่อหาความผิดปกติ
ข้อห้ามในการตรวจแมโมแกรม
-
ในระหว่างตั้งครรภ์ควรหลีเลี่ยงการตรวจแมมโมแกรม
-
ในผู้ที่ตั้งครรภ์ถ้าจำเป็นจริงๆ เช่น คลำก้อนได้ ก็สามารถทำแมมโมแกรมได้โดยเจ้าหน้าที่เอาแผ่นตะกั่วกันรังสีมาคลุมท้องไว้ขณะตรวจ
-
หญิงที่มีประจำเดือนก็สามารถตรวจได้
-
หญิงที่เสริมเต้านมก็ตรวจได้เพียงแต่ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อน
การเตรียมตัวก่อนรับการตรวจ
การเตรียมตัวก่อนตรวจ จะตรวจเมื่อใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องงดน้ำ งดอาหาร ไม่มีการรับประทานยาหรือฉีดยาใดๆควรมาตรวจหลังจากประจำเดือนหมดแล้ว 7 วัน จะทำให้รู้สึกเจ็บเต้านมลดลง ในขณะทำการตรวจควรงดทาแป้งงดทาโลชั่น หรือน้ำหอมบริเวณหน้าอกและรักแร้
โรคมะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในสตรีไทย โดยคาดว่ามีผู้ป่วยรายใหม่ปีละ 13,000 ราย และเป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตสตรีไทยเป็นอันดับสองโดยในแต่ละปีจะสูญเสียชีวิต 2,500 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา
มะเร็งเต้านมคือการที่เซลล์มะเร็งเกิดขึ้นที่เต้านมส่วนใหญ่จะเป็นที่ต่อมท่อน้ำนมหรือที่ต่อมน้ำนมมะเร็งเต้านม สามารถค้นหาและรักษาให้หายขาดได้โดยเฉพาะมะเร็งระยะแรกๆที่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมการค้นหาทำได้โดยการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ตรวจด้วยบุคลากรทางการแพทย์และเครื่องแมมโมแกรม
การรักษามะเร็งเต้านม
ทำได้โดยการรักษาแบบผสมผสานได้แก่การผ่าตัด การใช้ยาเคมีบำบัด การใช้ฮอร์โมนบำบัดการใช้ยาที่ออกฤทธิ์ แบบพุ่งเป้าและการฉายแสงความก้าวหน้าในการรักษาในปัจจุบันทำให้มีประสิทธิภาพในการรักษาเพิ่มขึ้นและสามารถลดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาได้มาก เช่น การผ่าตัดแบบอนุรักษ์เต้านม การสร้างเต้านมขึ้นใหม่เมื่อต้องตัดเต้านมออก เครื่องฉายแสงรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการลดภาวะแทรกซ้อนให้น้อยลง
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ
1.ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง เต้านม เช่น มีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม
2.มีประวัติการใช้ฮอร์โมนเพศทดแทนติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 5 ปี
3.คลำพบก้อน หรือสิ่งผิดปกติบริเวณ เต้านม
4.อายุมากกว่า 40 ปี ขึ้นปี
5.ผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาตั้งแต่อายุก่อน 12 ปี หรือ ประจำเดือนหมดช้าหลังอายุ 55 ปี จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ง่าย
อาการของมะเร็งเต้านม
ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมมักจะไม่มีอาการอะไร โดยมากมักจะรู้ได้โดย
- คลำได้ก้อนที่เต้านมหรือรักแร้
- มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของเต้านม
- มีน้ำไหลออกจากหัวนม
- เจ็บ หรือหัวนมถูกดึงรั้ง
- ผิวเต้านมจะเหมือนเปลือกไม้
การรักษา
เมื่อพบว่าเป็นโรคมะเร็งเต้านมแน่นอนแล้ว แพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าผู้ป่วยควรได้รับการรักษาแบบใดจึงจะเหมาะสมที่สุดโดยพิจารณาถึงอายุ ภาวะ ความแข็งแรงของร่างกาย ระยะของโรค ชนิดของมะเร็ง และการยอมรับของผู้ป่วยซึ่งการรักษาจะประกอบด้วย
1.การผ่าตัด มักใช้เป็นวิธีการรักษาเริ่มแรกในระยะที่มีการลุกลามไปมากเพราะให้ผลในการขจัดมะเร็งได้เป็นอย่างดี
2.การให้ยาเคมีบำบัด มักใช้เป็นการรักษาร่วมกับการผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีการแพร่กระจายของมะเร็งมาที่ต่อมน้ำเหลืองรักแร้
3.การใช้ยาฮอร์โมนก็ยังถือเป็นมาตรฐานในปัจจุบันมักจะให้ในรายที่หมดประจำเดือนแล้วเพราะจะตอบสนองต่อการให้ยามากกว่า
4.การรักษาโดยการฉายแสงสามารถใช้เป็นการรักษาร่วมกับการผ่าตัดและการให้ยาเคมีบำบัด โดยมักให้หลังจากที่ได้รับการผ่าตัดแ
*** หมายเหตุ ***
จำนวนผู้ที่เข้ารับบริการวันละ 30-40 ราย/วัน
ติดต่อขอรับบริการรถ
ติดต่อได้ที่ หน่วยงานโมบายแมมโมแกรม
โทร. 02-๒๐๒๖๘๐๐ หรือ ๐๒-๒๐๒๖๘๘๘ ต่อ 220๑, ๒๒๔๘
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
268/1 ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400
เอกสารประกอบ คลิกที่นี่ !!!