|
|
|
เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกคนที่ได้รับการรักษา ต่างก็อยากหายขาดจากโรคมะเร็งกันทั้งนั้น จนเป็นคำถามยอดฮิตที่ผู้ป่วยมักจะถามแพทย์ผู้รักษาเสมอว่า ตัวเองมีโอกาสหายขาดมั้ย หรือหายขาดรึยัง หลังจากที่รักษาไประยะหนึ่งแล้ว แท้จริงแล้วมีหลายประเด็นที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการหายขาดจากโรคมะเร็ง
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักทวารหนักกันก่อน ทวารหนักตามหลักกายวิภาคไม่ได้มีแค่รูทวารภายนอกที่เราเห็น แต่ครอบคลุมเข้าไปภายในรูทวารสูงขึ้นไปจากปากทวารหนักอีก 3-5 เซนติเมตร มีความสำคัญเนื่องจากมีหน้าที่เกี่ยวกับการกลั้นอุจจาระ เพราะมีกล้ามเนื้อหูรูด 2 ชนิดคือกล้ามเนื้อหูรูดภายในและกล้ามเนื้อหูรูดภายนอก โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหูรูดภายนอกนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมตามที่สมองสั่งการ อาการติ่งเนื้อที่บริเวณปากทวารหนักอาจจะเป็นได้ตั้งแต่ติ่งเนื้อธรรมดา หูด ริดสีดวงทวารหนัก แผลฉีกขาดเรื้อรัง รวมถึงมะเร็ง ซึ่งแพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยแยกโรคได้ไม่ยาก ด้วยการดูภายนอก การใช้นิ้วคลำในรูทวารหนัก และการส่องกล้องพรอคโตสโคปเพื่อดูหน้าตาเยื่อบุทวารหนัก ถ้าไม่แน่ใจก็ตัดชิ้นเนื้อบริเวณที่สงสัยมาตรวจกันไป
บทความเรื่อง Second Cancer Risk Up to 40 Years after Treatment for Hodgkin’s Lymphoma รายงานว่า ผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากมะเร็ง Hodgkin’s lymphoma มีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อ malignant neoplasms ที่สัมพันธ์กับการรักษาขณะที่ยังไม่มีข้อมูลด้านความเสี่ยงระยะยาวต่อมะเร็งชนิดที่ 2จากการรักษาอันมีผลข้างเคียงน้อยกว่าซึ่งเริ่มเป็นที่รู้จักในช่วงปลายทศวรรษที่ 80
มะเร็งนับเป็นภัยร้ายที่คุกคามชีวิตผู้คนทั่วโลกอย่างรุนแรง ข้อมูลในปี พ.ศ. 2555 จากองค์การอนามัยโลกแสดงให้เห็นว่า ทั่วโลกมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ประมาณ 14 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งสูงถึง 8.2 ล้านคน จำนวนผู้ป่วยใหม่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 70% ใน 20 ปีต่อไป สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานว่า ในปี พ.ศ. 2555 มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ที่มารับบริการที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ 3,917 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2546 ที่มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่เพียง 2,958 คน โดยมะเร็งที่พบมากสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งหลอดลมและปอด แม้ว่าในปัจจุบันจะมีวิธีการรักษามะเร็ง เช่น เคมีบำบัด หรือการฉายรังสี แต่วิธีการรักษาดังกล่าวมีผลข้างเคียงสูง และกระทบต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การหาทางเลือกอื่นจึงเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับนักวิจัย โภชนาการก็นับเป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับการศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันและรักษามะเร็ง
บทความเรื่อง Ovarian Suppression with Triptorelin during Adjuvant Breast Cancer Chemotherapy and Long-term Ovarian Function, Pregnancies, and Disease - Free Survival: A Randomized Clinical Trial รายงานว่า ปัจจุบันผลลัพธ์การรักษาการทำงาน ของมดลูกจากการให้ luteinizing hormonereleasing hormone analogues (LHRHa) ระหว่างเคมีบำบัดยังคงเป็นที่ถกเถียงกันเนื่องจากขาดข้อมูลการทำงานของมดลูกและการตั้งครรภ์ในระยะยาว รวมถึงความกังวลด้านความปลอดภัยจากปฏิกิริยาด้านลบระหว่างฮอร์โมนบำบัดและเคมีบำบัด
Medscape Medical News: FDA ของประเทศสหรัฐอเมริกามีมติรับรองให้สามารถใช้ยาใหม่ คือ Fosaprepitant dimeglumine ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม substance P/neurokinin-1 (NK1) receptor antagonist เพื่อการรักษาอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากยาเคมีบำบัดแล้ว โดยอ้างอิงจากหลักฐานการศึกษาในระยะที่ 3 เกี่ยวกับการใช้ยานี้ร่วมกับยา ondansetron และdexamethasone ในการรักษาอาการคลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งเป็นอาการข้างเคียงที่สำคัญจากการใช้ยาเคมีบำบัดหลายชนิด
Medscape Medical News: การให้ยาเคมีบำบัดในครั้งแรกสำหรับเด็กที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว acute lymphocytic leukemia (ALL) มักทำให้ภูมิคุ้มกันลดลงอย่างมากจนเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ แต่ผลการศึกษาล่าสุดชี้ว่า การให้ยาปฏิชีวนะในระยะนี้ช่วยทำให้การติดเชื้อลดลงได้อย่างชัดเจน
Medscape Medical News: ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดควบคู่กับการฉายแสงมีความรู้สึกทางอารมณ์และสังคมที่ดีขึ้นเมื่อได้เล่นกับสุนัข โดยมีหลักฐานข้อมูลจากการศึกษาของ Stewart Fleishman จากสถาบัน Continuum Cancer Centers of New Yorks ซึ่งได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับภาวะทางอารมณ์และสังคมของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ต้องได้รับยาเคมีบำบัดควบคู่ไปกับการฉายแสงข้อมูลที่ได้มาจากผู้ป่วยจำนวน 37 รายที่ป่วยเป็นมะเร็งของอวัยวะต่าง ๆ และเกือบทั้งหมดอยู่ในระยะแพร่กระจายแล้ว
Medscape Medical News: ปัจจุบันมีข้อมูลหลายชิ้นที่บ่งชี้ว่า ยาในกลุ่ม opioids ซึ่งใช้ในการรักษาอาการปวดจากมะเร็งอาจมีส่วนทำให้โรคดำเนินไปเร็วขึ้น โดยอาจมีการกระตุ้นผ่านตัวรับของ opioidsบางชนิดในเนื้อเยื่อมะเร็งและมีข้อมูลแสดงให้เห็นว่า ยา methylnaltrexone ซึ่งในปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้ในการรักษาอาการท้องผูกในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยา opioids อาจช่วยทำให้โรคดำเนินช้าลง และผู้ป่วยมีชีวิตได้นานขึ้น
Previous Page | Next Page