|
|
|
ตรวจ PSA มีประโยชน์จริงหรือ
Reuters Health: ผู้ชายสูงวัยมักจะไปตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากโดยวิธี prostate specific antigen(PSA) test แล้วตามด้วยการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ แม้ว่าอาการของโรคจะเจริญช้า ๆ และดูไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตแต่อย่างใด
ในผู้ชายที่ตรวจพบค่า PSA สูง มีเพียง 1 ใน 3 ที่ทำการตรวจชิ้นเนื้อเพื่อดูว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ ผลการตรวจ PSA สร้างความกังวล กระวนกระวายไม่สบายใจแก่คนไข้ Dr.Louise Walter จากโรงพยาบาลทหารผ่านศึก ซานฟรานซิสโก กล่าวว่า ผู้สูงอายุบางคนคิดว่าการตรวจ PSA ก็เหมือนการตรวจเลือดทั่วไปแท้จริงแล้วมันไม่ใช่การตรวจเลือดธรรมดา คนไข้จะรู้ว่าเขามีมะเร็งหรือไม่ หากรู้ผลแล้วจะทำอะไรต่อไป นับเป็นหนึ่งในกระบวนการทดสอบที่จะดูแลใกล้ชิดต่อไป
การตรวจ PSA test ยังเป็นที่โต้แย้งกันว่าจะได้ประโยชน์จริงหรือไม่ การรักษาหลังจากการตรวจ PSA และตรวจชิ้นเนื้อแล้วอาจจะทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น หย่อนสมรรถภาพทางเพศ และการตรวจพบมะเร็งในบางรายก็มิได้มีอาการผิดปกติเพราะมะเร็งเจริญช้ามากจนไม่จำเป็นต้องรักษา
ผลการศึกษาใหม่โดย Walter วิเคราะห์การเบิกประกันสุขภาพและเวชระเบียนของคนไข้ราว 300,000 รายที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปที่ตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากในปี ค.ศ. 2003 ในจำนวนนี้มีระดับ PSA สูงเกินมาตรฐานถึง 25,000 ราย ขั้นต่อมาสำหรับผู้มีระดับ PSA สูงคือการตรวจชิ้นเนื้อเพื่อดูว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ มีความร้ายแรงแค่ไหน ต่อมาอีก 5 ปี มีเพียง 1/3 ที่ PSA สูงและมีการตรวจชิ้นเนื้อ
การตรวจ PSA จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อมีการติดตามด้วยการตรวจชิ้นเนื้อดูว่าเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ หากไม่ทำอะไรก็สร้างความกังวลใจในกลุ่มที่มีค่า PSA สูง ดังนั้น ก่อนการตรวจ PSA ควรถามคนไข้ก่อนว่าพร้อมที่จะตรวจชิ้นเนื้อต่อไปหรือไม่ มิฉะนั้นก็จะไม่มีประโยชน์อะไร
ในกลุ่มชาย 1 ใน 3 ที่มีค่า PSA สูง และตรวจชิ้นเนื้อพบว่ามี 63% ที่พบว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก มากกว่า 80% เลือกที่จะรักษาโดยการผ่าตัดหรือการฉายรังสี ในจำนวนนี้เป็นมะเร็งชนิดเจริญช้า ซึ่งไม่จำเป็นต้องรักษา
ที่มา : THE MEDICINE JOURNAL สรรพสารวงการยา ฉบับที่ 178 ประจำเดือนพฤษภาคม 2556 หน้าที่ 5
Previous Page | Next Page
COMMENTS
Give more for less with TOMS Sale. Shop TOMS Sale Section for TOMS Shoes, sunglasses and bags. And yes, even when TOMS are on sale.
Click here to post a comment